5 รีวิว หนัง อุโมงค์ผาเมือง

 

มี "เรื่องจริง" อยู่อย่างหนึ่งว่า สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา ไม่ว่างานชิ้นนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม แต่ถ้ามีการกล่าวขานและได้รับการ ยอมรับในทุกยุคทุกสมัย แม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไปสักเท่าไหร่ก็ตาม แต่สิ่งนั้นยังคงดูโดดเด่นอยู่เสมอ เรามักจะให้นิยามกับสิ่งๆนั้นว่า เป็นผลงานที่ "คลาสสิค" อย่างเรื่องของ Rashomon (ราโชมอน) ผลงานของ อากิระ คุโรซาวา อันเกิดจากเรื่องสั้น 2 เรื่อง (The Cedar Grove หรือ In a Grove + The Rashomon Gate หรือ Rashomon) ของ ริวโนสุเกะ อะคุตางาวะ ที่เคยถูกสร้างเป็นภาพยตร์มาแล้วเมื่อปี 1950 ก็ถือเป็นงาง คลาสสิค ในโลกภาพยตร์อีกเรื่องหนึ่งเช่นกัน เมนหลักๆ ของเรื่องนี้จริงๆแล้วก็ไม่มีอะไรมากนัก เริ่มต้นจากมีเหตุการณ์ฆาตกรรมเกิดขึ้น เมื่อซามูไรคนหนึ่งพาเมียเดินทางเข้าไปในป่า และได้เจอกับโจรป่าผู้โหดเหี้ยมคนหนึ่ง เขาได้หลอกล่อและสามารถจับซามูไรมัดไว้ได้ และโจรก็จะลงมือข่มขืนเมียของเขา ก่อนที่ในเวลาต่อมา จะมีผู้พบศพซามูไรในป่าแห่งนั้น เนื้อเรื่องมีอยู่แค่นี้จริงๆ ครับ แต่ความสนุกของเรื่องนี้อยู่ที่มุมมองต่างๆ ของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ และพยานที่รู้เห็น ซึ่งก็ต่างเล่าเรื่องในสิ่งที่เขาเห็น หรืออยากจะเห็น ทำให้เรื่องราวจากปากของแต่ละคนแตกต่างกันราวกับเป็นคนละเรื่อง ทำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในป่าถูกบิดเบือนให้คลาดเคลื่อน จนยากที่จะสามารถสรุปได้ว่า "อะไรคือความจริง " อะไรคือความเท็จ สำหรับในไทยเรา พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยนำวรรณกรรมชินนี้มาดัดแปลง เป็นสำนวนไทยๆ ทำเป็นละครเวทีมาแล้วครั้งหนึ่งในชื่อว่า ราโชมอน (ประตูผี) และได้รับความนิยมอย่างสูง ต่อมา ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล ได้นำบทประพันธ์เรื่อง ราโชมอน(ประตูผี) มาดัดแปลงอีกครั้งทำเป็นละครเวทีจัดแสดงที่มณเฑียนทองเธียเตอร์เมื่อยี่สิบปีทีผ่านมา และเนื่องในวาระครบรอบ 101 ของปรมาจารย์ผู้กำกับ อากิระ คุโรซาวา (เกิด 23 มีนาคม 1910) ในปีนี้ Rashomon (ราโชมอน) ได้ถูกนำมาดัดแปลงอีกครั้งในชื่อว่า อุโมงค์ผาเมือง 



กำกับการแสดงโดยผู้กำกับจอมละเมียดอย่าง ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย) อีกครั้งหนึ่ง บอกตามตรงผมขัดใจกับบทพระของน้องมาริโอ มาก ที่หัวเป็นด่างเป็นดวงอย่างนั้น อาจจะเป็นเพราะว่า ช่วงนี้น้องมาริโอมีงานแสดงเยอะหลายเรื่องด้วยกัน เลยไม่อาจที่จะโกนผมจริงๆได้ ก็เลยต้องใช้ถุงน้องสวมแล้วตกแต่งเอา ซึ่งก็ออกมาอย่างที่เห็นนั้นแหละครับ เป็นด่างเป็นดวงจริงๆ กับเรื่องคิวของพระตอนแรกคิดว่าน่าจะเป็นประเด็น แต่พอหาข้อมูลมา ก็ทราบว่า พระทางเหนือสมัยก่อน สามารถไว้คิวได้ ก็แสดงว่าถูกต้องแล้วครับ ผู้กำกับทำงานมาดี อีกคนหนึ่งที่น่าชม คือคุณหม่ำ จริงๆแล้วเขาเป็นดาราตลกที่เพียงเห็นหน้าก็ตลกแล้ว แต่กลับเรื่องนี้ ด้วยตัวบท ทำให้คุณหม่ำตลกไม่ได้ ห้ามตลกเด็ดขาด และคุณหม่ำก็ทำได้ดีเสียด้วย นอกจากคุณจะติดภาพตลกแบบเหนี่ยวแน่น เห็นแค่หน้าก็ตลกแล้ว นั่นก็อีกเรื่องนึง ภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ใช่ภาพยนตร์ตลก ไม่ใช่ภาพยนตร์บู๊ ไม่ใช่ภาพยนตร์ดราม่า แต่เป็นภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงจิตใต้สำนึกของผู้คน ที่บางครั้งก็คิดแต่เพียงแค่เอาตัวรอด หรือไม่ก็พวก เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่นไว้ก่อน ประเภทได้ข้อมูลมาแบบหนึ่งแล้วพูดต่อๆกันไป กลายเป็นข้อมูลอีกแบบหนึ่งมา ทั้งที่คนให้ข้อมูลมาคนแรก เขาก็ไม่ได้โกหก แต่ผลสุดท้ายที่ออกมา ทำให้คนปล่อยข้อมูลคนแรก เป็นคนโกหกได้ หนังพยายามให้ผู้ชมคิดตาม หรือหาเหตุผลของตัวเราเองว่า ตัวละครตัวไหน "พูดจริง" หรือ "พูดไม่จริง" แม้แต่ "พระ" บุคคลที่ไม่สามารถ "โกหก" ได้ แต่คุณจะเชื่อคำให้การของพระได้หรือเปล่า แม้ว่าสุดท้ายแล้ว คุณอาจจะได้รับคำตอบ หรือไม่ก็ตาม นั้นแหละคือจุดประสงค์ของภาพยนตร์เรื่องนี้... แล้วสรุปว่า ใครพูดจริง ใครพูดเท็จกันละ...

ติดตามรีวิวภาพยนตร์ ได้ที่ : movieup2you.com

ติมตามเพจได้ที่ : มูฟวี่ Up2You


ความคิดเห็น